วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552

::วิจัย เรื่องความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมของนักเรียนในยุคอินเตอร์เน็ต: กรณีศึกษา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา::

ชื่อเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมของนักเรียนในยุคอินเตอร์เน็ต: กรณีศึกษา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมา
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวศศิฌามนตร์ แสงสวัสดิ์

หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ปีการศึกษา 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมา ในยุคอินเตอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความคิดเห็นของผู้ปกครองในการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมา
ในการศึกษา ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ปกครองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมา จำนวน 204 คน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 10.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2. สถิติวิเคราะห์ (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test และ F-test
กลุ่มตัวอย่างมีเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน กลุ่มใหญ่ มีอายุระหว่าง 41-45 ปี ร้อยละ 30.88 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 25.98 สถานภาพสมรส ร้อยละ 70.10 50.00 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 52.94 รายได้ส่วนตัวต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 50.00 จำนวนเด็กในปกครอง 2 คน ร้อยละ 47.55 มิได้ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกันทุกสัปดาห์ ร้อยละ 60.78 ใช้วิธีเลี้ยงดูบุตรแบบมีเหตุมีผล ร้อยละ 42.65
การศึกษา พบว่า ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ในระดับสูง มีความรู้ความเข้าใจและให้ การสนับสนุนให้เด็กในปกครองใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ในระดับปานกลาง
ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมของนักเรียนในการใช้อินเตอร์เน็ตโดยรวมเป็นไปในทางที่ดีกว่าเดิม 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านพฤติกรรมในการเรียน 2) ด้านพฤติกรรมต่อเพื่อนและ 3) ด้านพฤติกรรมแสดงออก ส่วนอีก 2 ด้าน ไม่พบการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) พฤติกรรมต่อครองครัว 2) พฤติกรรมต่อสังคม
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กัความความคิดเห็นดังกล่าวได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ส่วนตัว ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ จำนวนเด็กในปกครอง การใช้เวลาว่างของครอบครัว ความสัมพันธ์ของครอบครัว
ข้อเสนอแนะในการศึกษา
1. ผู้ปกครองควรหาเวลาเรียนรู้และศึกษาอินเตอร์เน็ต โดยการซื้อหนังสือมาอ่านหรือมาศึกษา และทดลองใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะสามารถตอบคำถามให้กับบุตรหลานของท่านได้
2. สร้างความรู้ความเข้าใจ และให้เวลากับเด็กในปกครอง ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตสามารถให้คำปรึกษากับบุตรหลานได้ ชี้แนะในการใช้อินเตอร์เน็ต ให้หลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และผู้ปกครองควรอยู่ใกล้กับเด็กในขณะที่ใช้อินเตอร์เน็ต
3. ผู้ปกครองควรควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กในปกครอง โดยการกำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าควรจะใช้อินเตอร์วันละกี่ชั่วโมง และให้หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เท่านั้น
4. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องส่วนตัวของเด็ก ซึ่งอาจจะทำให้เด็กใช้เวลาอยู่กับการเล่นอินเตอร์เน็ตมากจนเกินไป หรือการเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนและปัญหาอื่นๆ ก็จะตามมา
5. ทางโรงเรียนควรจัดให้นักเรียนใช้อินเตอร์เน็ตในโรงเรียนอย่างพอเพียง
6. ครูควรจัดให้มีหลักสูตรการแนะนำการใช้อินเตอร์เน็ต
7. ครูควรมีประสบการณ์ ตามทันเด็กแนะนำเด็กให้รู้จักแยกแยะว่าอะไรดี ไม่ดี ถูกผิด ควร ไม่ควร ในการใช้อินเตอร์เน็ต

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

:::งานวิจัย(2550) เรื่อง เทคโนโลยีสะอาดกับประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน กรณีศึกษา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ:::

ชื่อเรื่อง เทคโนโลยีสะอาดกับประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน กรณีศึกษา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาว ศศิฌามนตร์ แสงสวัสดิ์

หน่วยงาน วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2550

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะครัวเรือน ที่สอดคล้องกับหลักการ เทคโนโลยีสะอาด ภายใต้กรอบแนวคิด 3Rs เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ที่สอดคล้องกับหลักการ เทคโนโลยีสะอาด ภายใต้กรอบแนวคิด 3Rs เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครัวเรือนตัวอย่างในหมู่บ้านและชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา จำนวนทั้งสิน 400 ครัวเรือน วิธีการศึกษาและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจครัวเรือนตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น นำมาประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS ค่าสถิติที่นำมาแปรผลข้อมูลคือ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอย เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ แต่ละตัวที่มีอิทธิพลต่อปริมาณขยะชุมชน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประชาชนในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครมีรายละเอียดจำแนกได้ ดังนี้ เพศ พบว่าเป็นเพศหญิง จำนวนมากที่สุด 218 คน และเพศชายจำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 54.50 และ 45.50 ตามลำดับ อายุ พบว่าอายุระหว่าง 51-60 ปี มีจำนวนมากที่สุด คือ 149 คน คิดเป็นร้อยละ 37.30 รองลงมาได้แก่ อายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.80 อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 21.00 อายุระหว่าง 30-40 ปี คิคเป็น ร้อยละ 14.30 และอายุมากกว่า 30 ปี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 5.80 ระดับการศึกษา พบว่า จากชั้นประถมศึกษาจำนวนมากที่สุด 177 คน คิดเป็นร้อยละ 44.25 รองลงมา ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาจำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80 ระดับ ปริญญาตรี จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 15.80 และสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 อาชีพ พบว่า อาชีพรับจ้างทั่วไป มีจำนวนมากที่สุด 128 คน คิดเป็นร้อยละ 32.00 รองลงมาได้แก่ แม่บ้าน จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 19.00 อาชีพค้าขาย จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 18.00 อาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 17.50 และอาชีพพนักงานบริษัท จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 13.50 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน พบว่ามีระยะเวลา 5 ปี มากที่สุดจำนวน 284 คน คิดเป็นร้อยละ 71.00 รองลงมาได้แก่ ระยะเวลา 3-5 ปี จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 16.80 และระยะเวลาน้อยกว่า 3 ปี จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 12.30 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน พบว่า รายได้มากกว่า 10,000 บาท มากที่สุดจำนวน 172 คน คิคเป็นร้อยละ 43.00 รองลงมาได้แก่ รายได้ระหว่าง 5,000 - 10,000 บาทจำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 37.00 . และรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 72คน คิดเป็นร้อยละ 18.00 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พบว่ามีสมาชิกจำนวน 4-6 คน มากที่สุด 20 คนคิดเป็นร้อยละ 51.50 รองมาลง ได้แก่ สมาชิกต่ำกว่า 4 คน จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 34.25 และจำนวนมากกว่า 6 คน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 14.25 สื่อที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารในการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า โทรทัศน์มากที่สุดจำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 รองลงมาได้แก่ หนังสือพิมพ์จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 18.25 เเผ่นพับมี จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 10.75 จำนวน 38 คนอคิคเป็นร้อยละ 9.50 และนิตยสาร จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 ประเภทของชุมชนที่พักอาศัย พบว่า หมู่บ้านจัดสรรมากที่สุด 335 คน คิดเป็นร้อยละ 83.75 รองลงมาได้แก่ ชุมชนแออัด จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 14.75 ชุมชนเมือง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.00 และชุมชนบ้านเมือง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.50

2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย มีค่าเฉลี่ย โดยรวม เท่ากับ 0.80 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดคือ ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของส่วนรวมที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข ( = 0.95) และข้อที่น้อยที่สุด คือ การบ้วนหรือถ่มน้ำลายลงในแม่น้ำลำคลองไม่มีความผิดตามกฎหมาย (= 0.44)

3. เพศของประชาชนในชุมชนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

4. อายุของประชาชนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสัาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

5. ระดับการศึกษาของประชาชนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

6. อาชีพของประชาชนในชุมชนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

7. ระยะเวลาที่ประชาชนอาศับอยู่ในชุมชนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมคิฐานที่วางไว้

นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาสิ่งแวดล้อมของตนเองและตระหนักถึงปัญหาของขยะมูลฝอยมากกว่าบุคคลที่มีความรู้ที่น้อยกว่าและบุคคลที่มีความรู้มากกว่าย่อมมีพฤติกรรมในการติดตามข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ จึงเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเกิดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการจัดขยะมูลฝอยดังนั้นความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของปรขะชาชนในชุมชนจึงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย คือ สถานที่วางถังขยะมีพี้นที่จำกัดและมีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีถังขยะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพื้นที่ในชุมชนที่พักอาศัยของประชาชนในชุมชนมีขนาดจำกัด ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดทางด้านขนาดของพื้นที่และราคาต่อหน่วยที่มีราคาแพง ทำให้บริเวณที่วางตั้งถังขยะมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่นับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และปริมาณขยะมูลฝอยก็มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้นติดตามมา จึงทำให้ประชาชนมีปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานที่ตั้งวางถงขยะมีพื้นที่จำกัดและต้องการที่จะให้มีการเพิ่มจำนวนถังขยะให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เพียงพอต่อการทิ้งขยะในแต่ละครอบครัว

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยร่วมกับกรุงเทพมหานคร ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบทลงโทษ และความรู้เกี่ยวกับข้อบ้ญญัติกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการทิ้งขยะในที่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนเกิคความตระหนักและเกิคความเคยชิน ดังเหมือนเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องปฏิบัติ ควรจัดหาถังขยะ และกำหนดที่ตั้งในชุมชนให้มากยิงขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่นับวันจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น และควรจัดหาถังขยะสำหรับใส่วัสดุอันตรายให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ทิ้งขยะอันตรายแยกเป็นสัดส่วนไว้โดยเฉพาะ และสะดวกต่อการนำไปทำลายตามขั้นตอนต่อไป

:::งานวิจัย 2550 เรื่อง เทคโนโลยีสะอาดกับประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน:::

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552

::::ใบงานครั้งที่ 3 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง::::

ใบงานครั้งที่ 3

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Central Tendency) หมายถึง เป็นการหาค่ากลางของข้อมูลทั้งหมดว่าอยู่ที่ใด โดยใช้ค่ากลางบอกลักษณะของข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สามารถทราบถึงการแจกแจงของข้อมูลเป็นอย่างไร

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางทำได้ 3 วิธีคือ

1. ค่าเฉลี่ย (Mean)

2. มัธยฐาน (Median)

3. ฐานนิยม (Mode)

ค่าเฉลี่ย (Mean) คือ เป็นการนำเอาค่าสังเกตทุกค่าที่ได้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนค่าสังเกตทั้งหมด

ข้อดีของค่าเฉลี่ยเลขคณิต

1. มีความสะดวกในการคำนวณ

2. ง่ายแก่การเข้าใจ เชื่อถือได้

3. นิยมใช้ค่าเฉลี่ยในการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณหลาย ๆ ชุด

4. มีได้ค่าเดียวสำหรับข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ

ข้อเสียของค่าเฉลี่ยเลขคณิต

1. ใช้กับข้อมูลเชิงปริมาณเท่านั้น

2. ถ้าข้อมูลมีค่าผิดปกติ นั่นคือมีค่าสูงเกินไป หรือค่าต่ำเกินไป ค่าเฉลี่ยจะไม่ใช่ค่ากลางที่ดี

3 ถ้าการแจกแจงความถี่ของข้อมูลเป็นอันตรภาคชั้นเปิด ซึ่งอาจจะเป็นชั้นต่ำสุดหรือชั้นสูงสุดชั้นใดชั้นหนึ่งหรือทั้งสองชั้น จะไม่สามารถหาค่าเฉลี่ยได้

การหาค่าเฉลี่ยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. การหาค่าเฉลี่ยสำหรับข้อมูลที่ไม่ได้จัดกลุ่ม (Ungroup Data)

กรณีที่ทราบค่าข้อมูลทุกหน่วยในประชากร (เป็นการหา Population Mean)

ค่าเฉลี่ยประชากร โดยที่ Xi แทนค่าของข้อมูลที่ i

N แทนขนาดของประชากร

ตัวอย่างที่ 1 จำนวนลูกจ้างร้านขายยาทั้ง 5 แห่งมี 3 5 6 4 และ 6 คน ตามลำดับ จงหาจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยของร้านขายยาทั้ง 5 แห่ง

วิธีทำ

กรณีที่ทราบค่าข้อมูลบางหน่วยในประชากร (เป็นการหา Sample Mean)

ค่าเฉลี่ยประชากร โดยที่ Xi แทนค่าของข้อมูลที่ i

n แทนขนาดของตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 2 ผู้ตรวจสอบอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างอาหารกระป๋องยี่ห้อโรซ่ามาจำนวน 7 กระป๋องเพื่อหาสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ในอาหาร (หน่วย : เปอร์เซ็นต์) ข้อมูลที่บันทึกได้เป็นดังนี้

1.8 2.1 1.7 1.6 0.9 2.7 1.8

จงหาค่าเฉลี่ยของอาหารที่ไม่บริสุทธิ์

วิธีทำ

2. การหาค่าเฉลี่ยสำหรับข้อมูลที่จัดกลุ่ม (group Data)

2.1 กรณีที่ทราบค่าข้อมูลทุกหน่วยในประชากร (เป็นการหา Population Mean)

ค่าเฉลี่ยประชากร โดยที่ k แทนจำนวนชั้นในตารางแจกแจงความ

Xi แทนค่ากึ่งกลางของชั้นที่ i

fi แทนความถี่ของชั้นที่ i

N แทนขนาดของประชากร

2.2 กรณีที่ทราบค่าข้อมูลบางหน่วยในประชากร (เป็นการหา Sample Mean)

ค่าเฉลี่ยประชากร โดยที่ k แทนจำนวนชั้นในตารางแจกแจงความ

Xi แทนค่ากึ่งกลางของชั้นที่ i

fi แทนความถี่ของชั้นที่ i

n แทนขนาดของตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 4 จากการสำรวจหมู่บ้านเกษตรกรแห่งหนึ่ง ซึ่งเลี้ยงสุกรในจำนวนต่าง ๆ บันทึกจำนวนสุกรต่อครอบครัวดังนี้

จำนวนสุกรที่เลี้ยง

จำนวนครอบครัว

0 - 4

14

5 9

18

10 16

11

17 25

5

26 - 30

2

อยากทราบว่าโดยเฉลี่ยแล้วหมู่บ้านนี้เลี้ยงสุกรครอบครัวละกี่ตัว

วิธีทำ

มัธยฐาน (Median) คือ ค่าของข้อมูลที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางของชุดข้อมูล เมื่อนำข้อมูลมาเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย ดังนั้นจะมีข้อมูลอยู่ครึ่งหนึ่งน้อยกว่าค่ามัธยฐาน และข้อมูลอีกครึ่งหนึ่งมีมากกว่าค่ามัธยฐาน หรือเป็นการแบ่งความถี่ของข้อมูลออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน

ข้อดีของมัธยฐาน

1. ค่ามัธยฐานจะไม่ถูกกระทบกระเทือนเมื่อมีข้อมูลที่มีค่าผิดปกติ

2. ข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบเบ้มาก ๆ ในบางครั้งอาจให้ค่าที่ถูกต้องมากกว่าค่าเฉลี่ย

3. ถ้าการแจกแจงความถี่ของข้อมูลเป็นอันตรภาคชั้นเปิด ซึ่งอาจจะเป็นชั้นต่ำสุด หรือชั้นสูงสุด ชั้นใดชั้นหนึ่งหรือทั้งสองชั้น จะสามารถหามัธยฐานได้

4. ใช้ได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพแบบสเกลอันดับ (Ordinal scale)

ข้อเสียของมัธยฐาน ไม่ได้ใช้ข้อมูลทุกค่าในการคำนวณ

การหาค่ามัธยฐานแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. การหามัธยฐานสำหรับข้อมูลที่ไม่ได้จัดกลุ่ม (Ungroup Data)

1.1 จำนวนข้อมูลเป็นเลขคี่ (n เป็นเลขคี่)

ขั้นที่ 1 เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย

ขั้นที่ 2 ค่ามัธยฐาน คือค่าของข้อมูลที่อยู่ตำแหน่ง หรือตำแหน่งกึ่งกลาง

ตัวอย่างที่ 5 ภัตตาคารเจ้าพระยาได้ทำการจดบันทึกลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารเย็นเป็นจำนวน 15 วัน ดังนี้

40 52 55 58 40 48 56 56

60 37 58 63 46 50 61

จงหาค่ามัธยฐานของจำนวนลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารเย็น

วิธีทำ

1.2 จำนวนข้อมูลเป็นเลขคู่ (n เป็นเลขคู่)

ขั้นที่ 1 เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย

ขั้นที่ 2 ค่ามัธยฐาน คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่อยู่ตำแหน่ง และตำแหน่ง หรือ

เป็นการนำข้อมูลที่อยู่ระหว่างตำแหน่งกึ่งกลางทั้ง 2 ตัว มารวมกัน แล้วหารด้วย 2

ตัวอย่างที่ 6 น้ำหนักของเด็กแรกเกิด (หน่วย : กิโลกรัม) จำนวน 10 คน ที่โรงพยาบาลเวชธานีเป็นดังนี้

4.0 3.5 4.5 3.7 3.0 3.6 3.1 2.8 3.6 3.5

จงหาค่ามัธยฐานของน้ำหนักของเด็กแรกเกิด

วิธีทำ

2. การหามัธยฐานสำหรับข้อมูลที่จัดกลุ่ม (Group Data)

จะต้องเรียงลำดับข้อมูลข้อมูลที่จัดกลุ่มจากน้อยไปหามาก ชั้นที่มีค่ามัธยฐานอยู่คือ ชั้นแรกที่มีความถี่สะสม () มากกว่า ซึ่งสามารถหามัธยฐานได้โดยใช้สูตร ดังนี้

Median =

โดยที่ L คือ ขอบเขตจำกัดล่างของชั้นที่มีค่ามัธยฐานอยู่ à L = ขีดจำกัดล่าง 0.5

คือ ความถี่สะสมของชั้นก่อนที่มีมัธยฐานอยู่

คือ ความถี่ของชั้นที่มีมัธยฐานอยู่

I คือ ความกว้างของชั้น

ตัวอย่างที่ 7 จำนวนวันที่ฝนตกในวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นจำนวน 65 เดือน ดังแสดงในตาราง

จำนวนวันที่ฝนตก

จำนวนเดือน

น้อยกว่า 5

4

5 7

5

8 10

9

11 13

12

14 16

18

17 19

13

20 22

3

มากกว่า 22

1

จงหาค่ามัธยฐานของจำนวนวันที่ฝนตกใน 65 เดือน

วิธีทำ

จำนวนวันที่ฝนตก

จำนวนเดือน

ความถี่สะสม

น้อยกว่า 5

4


5 7

5


8 10

9


11 13

12


14 16

18


17 19

13


20 22

3


มากกว่า 22

1


รวม



ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าของข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด หรือมีความถี่สูงสุด ข้อมูลแต่ละชุดไม่จำเป็นต้องมีค่าฐานนิยมเสมอไป ถ้าข้อมูลนั้นไม่มีเลขใดที่มีความถี่สูงสุดของการเกิดขึ้นบ่อยกว่าเลขอื่น ๆ ข้อมูลชุดหนึ่งอาจมีฐานนิยมมากกว่า 1 ค่า

ข้อดีของฐานนิยม

1. ค่าฐานนิยมจะไม่ถูกกระทบกระเทือนเมื่อมีข้อมูลที่มีค่าผิดปกติ

2. ถ้าข้อมูลเป็นเชิงคุณภาพแบบสเกลนามบัญญัติ (Norminal scale) จะสามารถหาค่ากลางได้เฉพาะฐานนิยมนั้น แต่ไม่สามารถหาค่าเฉลี่ย หรือมัธยฐาน

ข้อเสียของฐานนิยม

1. ถ้าข้อมูลไม่ซ้ำกัน จะไม่มีค่าฐานนิยม

2.ค่าฐานนิยมอาจจะมีมากกว่า 1 ค่า สำหรับข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ โดยที่ค่าฐานนิยมนั้นอาจแตกต่างกันมากได้

3. ในกรณีที่เป็นข้อมูลที่จัดกลุ่มแล้ว ค่าฐานนิยมจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าการจำแนกชั้นเปลี่ยนแปลงไป

การหาค่าฐานนิยม แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. การหาฐานนิยมสำหรับข้อมูลที่ไม่ได้จัดกลุ่ม (Ungroup Data)

ฐานนิยม คือ ค่าของข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด หรือมีความถี่สูงสุด

ตัวอย่างที่ 8 ข้อสอบแบบถูก-ผิด มีทั้งหมด 20 ข้อ สุ่มนักศึกษามา 16 คน เพื่อทำข้อสอบดังกล่าว เพื่อทำข้อสอบดังกล่าว พบว่านักศึกษาทำข้อสอบผิดเป็นจำนวนข้อดังนี้

2 1 3 0 1 3 6 0

3 3 5 2 1 4 2 0

จงหาฐานนิยม

วิธีทำ

2. การหาฐานนิยมสำหรับข้อมูลที่จัดกลุ่ม (Group Data)

ฐานนิยมจะอยู่ในชั้นที่มีความถี่สูงสุด โดยมีสูตรดังนี้

Mode =

โดยที่ L คือ ขอบเขตจำกัดล่างของชั้นที่ฐานนิยมอยู่ (ชั้นที่มีความถี่สูงสุด) à L = ขีดจำกัดล่าง 0.5

คือ ผลต่างของความถี่ของชั้นที่ฐานนิยมอยู่กับความถี่ของชั้นต่ำกว่า (ชั้นก่อนหน้า)

คือ ผลต่างของความถี่ของชั้นที่ฐานนิยมอยู่กับความถี่ของชั้นสูงกว่า (ชั้นถัดลงมา)

I คือ ความกว้างของชั้น

ตัวอย่างที่ 9 จากการสำรวจอายุของผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสินแพทย์บันทึกผลการสำรวจได้ข้อมูลดังตารางต่อไปนี้

อายุ (ปี)

จำนวน

0 9

2

10 19

4

20 29

16

30 39

18

40 49

11

50 59

5

60 69

3

70 79

1

อยากทราบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุเท่าไร

วิธีทำ

แบบฝึกหัดครั้งที่ 3

1. ร้านอาหารขายอาหารใน 7 วันที่ผ่านมา ขายเสื้อผ้าได้ดังนี้ 300 , 2,000, 500 , 1,500, 1,700 ,500 และ 100 บาท จงคำนวณหาค่าเฉลี่ยของรายได้จากการขายอาหารของร้านนี้

2. ค่ามัธยฐานของข้อมูลในข้อ 1 คือค่าใด

3. ร้านขายขนม 9 แห่งติดราคาขายขนมดังนี้ 3, 5, 4, 3 , 5 , 3 ,4 ,4 และ 4 บาท จงหา ฐานนิยมของราคา

จากข้อมูลต่อไปนี้จงตอบข้อ 4 - 6

คะแนนสอบของนักศึกษาวิชาสถิติเบื้องต้นเป็นดังนี้

คะแนนสอบ

จำนวนนักศึกษา

30 39

9

40 49

32

50 59

43

60 69

21

70 79

11

80 89

3

90 99

1

จงหา

4. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

5. ค่ามัธยฐาน

6. ค่าฐานนิยม