วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

:::งานวิจัย(2550) เรื่อง เทคโนโลยีสะอาดกับประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน กรณีศึกษา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ:::

ชื่อเรื่อง เทคโนโลยีสะอาดกับประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน กรณีศึกษา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาว ศศิฌามนตร์ แสงสวัสดิ์

หน่วยงาน วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2550

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะครัวเรือน ที่สอดคล้องกับหลักการ เทคโนโลยีสะอาด ภายใต้กรอบแนวคิด 3Rs เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ที่สอดคล้องกับหลักการ เทคโนโลยีสะอาด ภายใต้กรอบแนวคิด 3Rs เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครัวเรือนตัวอย่างในหมู่บ้านและชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา จำนวนทั้งสิน 400 ครัวเรือน วิธีการศึกษาและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจครัวเรือนตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น นำมาประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS ค่าสถิติที่นำมาแปรผลข้อมูลคือ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอย เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ แต่ละตัวที่มีอิทธิพลต่อปริมาณขยะชุมชน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประชาชนในชุมชนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครมีรายละเอียดจำแนกได้ ดังนี้ เพศ พบว่าเป็นเพศหญิง จำนวนมากที่สุด 218 คน และเพศชายจำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 54.50 และ 45.50 ตามลำดับ อายุ พบว่าอายุระหว่าง 51-60 ปี มีจำนวนมากที่สุด คือ 149 คน คิดเป็นร้อยละ 37.30 รองลงมาได้แก่ อายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.80 อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 21.00 อายุระหว่าง 30-40 ปี คิคเป็น ร้อยละ 14.30 และอายุมากกว่า 30 ปี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 5.80 ระดับการศึกษา พบว่า จากชั้นประถมศึกษาจำนวนมากที่สุด 177 คน คิดเป็นร้อยละ 44.25 รองลงมา ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาจำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80 ระดับ ปริญญาตรี จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 15.80 และสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 อาชีพ พบว่า อาชีพรับจ้างทั่วไป มีจำนวนมากที่สุด 128 คน คิดเป็นร้อยละ 32.00 รองลงมาได้แก่ แม่บ้าน จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 19.00 อาชีพค้าขาย จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 18.00 อาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 17.50 และอาชีพพนักงานบริษัท จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 13.50 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน พบว่ามีระยะเวลา 5 ปี มากที่สุดจำนวน 284 คน คิดเป็นร้อยละ 71.00 รองลงมาได้แก่ ระยะเวลา 3-5 ปี จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 16.80 และระยะเวลาน้อยกว่า 3 ปี จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 12.30 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน พบว่า รายได้มากกว่า 10,000 บาท มากที่สุดจำนวน 172 คน คิคเป็นร้อยละ 43.00 รองลงมาได้แก่ รายได้ระหว่าง 5,000 - 10,000 บาทจำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 37.00 . และรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 72คน คิดเป็นร้อยละ 18.00 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พบว่ามีสมาชิกจำนวน 4-6 คน มากที่สุด 20 คนคิดเป็นร้อยละ 51.50 รองมาลง ได้แก่ สมาชิกต่ำกว่า 4 คน จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 34.25 และจำนวนมากกว่า 6 คน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 14.25 สื่อที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารในการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า โทรทัศน์มากที่สุดจำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 รองลงมาได้แก่ หนังสือพิมพ์จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 18.25 เเผ่นพับมี จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 10.75 จำนวน 38 คนอคิคเป็นร้อยละ 9.50 และนิตยสาร จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 ประเภทของชุมชนที่พักอาศัย พบว่า หมู่บ้านจัดสรรมากที่สุด 335 คน คิดเป็นร้อยละ 83.75 รองลงมาได้แก่ ชุมชนแออัด จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 14.75 ชุมชนเมือง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.00 และชุมชนบ้านเมือง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.50

2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย มีค่าเฉลี่ย โดยรวม เท่ากับ 0.80 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดคือ ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของส่วนรวมที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข ( = 0.95) และข้อที่น้อยที่สุด คือ การบ้วนหรือถ่มน้ำลายลงในแม่น้ำลำคลองไม่มีความผิดตามกฎหมาย (= 0.44)

3. เพศของประชาชนในชุมชนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

4. อายุของประชาชนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสัาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

5. ระดับการศึกษาของประชาชนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

6. อาชีพของประชาชนในชุมชนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

7. ระยะเวลาที่ประชาชนอาศับอยู่ในชุมชนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมคิฐานที่วางไว้

นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาสิ่งแวดล้อมของตนเองและตระหนักถึงปัญหาของขยะมูลฝอยมากกว่าบุคคลที่มีความรู้ที่น้อยกว่าและบุคคลที่มีความรู้มากกว่าย่อมมีพฤติกรรมในการติดตามข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ จึงเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและเกิดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการจัดขยะมูลฝอยดังนั้นความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของปรขะชาชนในชุมชนจึงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย คือ สถานที่วางถังขยะมีพี้นที่จำกัดและมีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีถังขยะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพื้นที่ในชุมชนที่พักอาศัยของประชาชนในชุมชนมีขนาดจำกัด ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดทางด้านขนาดของพื้นที่และราคาต่อหน่วยที่มีราคาแพง ทำให้บริเวณที่วางตั้งถังขยะมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่นับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และปริมาณขยะมูลฝอยก็มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้นติดตามมา จึงทำให้ประชาชนมีปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานที่ตั้งวางถงขยะมีพื้นที่จำกัดและต้องการที่จะให้มีการเพิ่มจำนวนถังขยะให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เพียงพอต่อการทิ้งขยะในแต่ละครอบครัว

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยร่วมกับกรุงเทพมหานคร ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบทลงโทษ และความรู้เกี่ยวกับข้อบ้ญญัติกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการทิ้งขยะในที่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนเกิคความตระหนักและเกิคความเคยชิน ดังเหมือนเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องปฏิบัติ ควรจัดหาถังขยะ และกำหนดที่ตั้งในชุมชนให้มากยิงขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่นับวันจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น และควรจัดหาถังขยะสำหรับใส่วัสดุอันตรายให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ทิ้งขยะอันตรายแยกเป็นสัดส่วนไว้โดยเฉพาะ และสะดวกต่อการนำไปทำลายตามขั้นตอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น